ลาวครั่ง

ลาวครั่ง



ประวัติความเป็นมาของคนไทยเชื้อสายลาวครั่ง
          ประวัติความเป็นมาของลาวครั่งนั้น จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พบว่าบรรพบุรุษได้อพยพมาจากอาณาจักรเวียงจันทร์ และหลวงพระบางพร้อมกับลาวกลุ่มอื่นๆ ได้อพยพเข้ามาที่ประเทศไทยด้วยเหตุผลที่ทางการเมืองและเป็นเชลยศึกยามสงคราม อาศัยอยู่บริเวณภาคกลางของประเทศไทย
          สิริวัฒน์ คำวันสา (2529 : 20) ได้กล่าวว่าลาวครั่งเป็นชื่อของภาษาและกลุ่มผู้มีเชื้อสายลาวกลุ่มหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย เช่น ในจังหวัดนครปฐม จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดชัยนาท จังหวัดอุทัยธานี ฯลฯ ลาวครั่งมักจะเรียกตนเองว่า "ลาวขี้ครั่ง" หรือ "ลาวคั่ง" ความหมายของคำว่า "ลาวครั่ง" ยังไม่ทราบความหมายที่แน่ชัดบางท่านสันนิฐานว่ามาจากคำว่า "ภูฆัง" ซึ่งเป็นชื่อของภูเขาที่มีลักษณะคล้ายระฆัง อยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของหลวงพระบางในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อันเป็นถิ่นฐานเดิมของลาวครั่ง

          วัลลียา วัชราภรณ์ (2534 : 11-12) ได้สรุป จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เชื่อแน่ว่าชาวลาวครั่งถูกกวาดต้อนเข้ามาในประเทศไทยในรัชสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีปีพุทธศักราช2321และในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชในปีพุทธศักราช 2334 ไม่ปีใดก็ปีหนึ่งอย่างแน่นอน เพราะไทยยกกองทัพไปตีเมืองหลวงพระบาง และกวาดต้อนครอบครัวของชาวลาวมาในช่วงนั้น เนื่องจากแพ้สงคราม


การตั้งถิ่นฐานของลาวครั่งในประเทศไทย
          ลาวหรือไทย คือ ชนชาติเดียวกัน มีบรรพบุรุษร่วมกันจึงได้มีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษาพูด ภาษาพูด ภาษาเขียนใกล้เคียงกันมาก

          (สุพิศ ศรีพันธุ์ : 2555 ) ได้อ้างไว้ว่าถึง การปรากฏตัวของชาวลาวครั่งในประเทศไทยพบว่ามีการอพยพโยกย้ายถิ่นฐานในรัชสมัยกรุงธนบุรี ดังปรากฏหลักฐานในปี พ.ศ. 2314 ปรากฏว่าได้มีการขัดแย้งระหว่าง กษัตริย์ลาวและเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่ 2 ตระกูล ทำให้มีการกระด้างกระเดื่องและแยกตัวไปสร้างเมืองใหม่บริเวณ ริมแม่น้ำโขง ชื่อนครเขื่อนขันกาบแก้วบัวบาน ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตหนองบัวลำภู และกษัตริย์ลาวได้ส่งกองทัพมาตี เมื่อมีการพ่ายแพ้และบริเวณและเกิดการสู้รบซึ่งฝ่ายเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่ซึ่งได้ตั้งตัวเป็นเจ้าเมืองใหม่ เกิดการเพลี่ยงพล้ำเสียชีวิตไป ส่วนหนึ่งและกลุ่มที่ยังเหลืออยู่จึงได้ไปขอความช่วยเหลือจากพม่าและเจ้าเมืองจำปาศักดิ์แต่ไม่ได้รับความช่วยเหลือแค่ให้ที่ตั้งมั่นอยู่บริเวณชายแดนนครจำปาศักดิ์จากนั้นจึงได้มาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารจากเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เพื่อขอเข้าเป็นขอบขันธ์สีมา ถวายตัวเป็นเมืองขึ้นกับไทยซึ่งได้ทรงโปรดให้เจ้าพระยามหากษัตริย์และเจ้าพระยาสุรสีห์เป็นผู้นำทัพไปช่วยเหลือตีเวียงจันทน์โดยได้รับความร่วมมือจากเจ้าเมืองหลวงพระบางซึ่งเป็นคู่สงครามกับเวียงจันทน์มาก่อน
( สุพิศ ศรีพันธุ์ : 2555 ) และเมื่อได้รับชัยชนะก็ได้มีการกวาดต้อนผู้คนชาวลาวทั้งเชื่อพระวงศ์สนมกำนัล ขุนนางข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ทหารและประชาชน พร้อมทั้งริบทรัพย์และเกลี้ยกล่อมหัวเมืองรายทางต่างๆ เช่น ชาวลาวทรงดำ มายังกรุงธนบุรี โดยให้ตั้งบ้านเรือนอยู่เพชรบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี ส่วนลาวเวียงโปรดให้ไปตั้งบ้านเรือนแถวจังหวัดสระบุรี ลพบุรี ตะพานหิน จันทบุรี ลาวภูครัง จากเมืองภูครัง ซึ่งเป็นเมือง ริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ให้เข้ามาตั้งบ้านเรือนแถบนครชัยศรี พร้อมทั้งอัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางลงมาประดิษฐาน ณ กรุงธนบุรี ในปี พ.ศ. 2358 ในสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าเมืองเวียงจันทน์ ได้ส่งครอบครัวลาวเมืองภูครัง มายังกรุงเทพมหานคร โปรดให้ไปตั้งบ้านเรือนที่นครชัยศรี และในสมัยของรัชกาลที่ 3 ชาวลาวครั่ง ซึ่งมีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่เมืองภูครัง ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ได้ถูกกวาดต้อนมาในประเทศไทยอีกครั้งในสมัยที่ไทยได้ทำสงครามกับญวนโดยในการยกทัพกลับจากญวนยกทัพผ่านลาวได้ตั้งมั่นชั่วคราวอยู่ที่เมืองภูครังแล้วจึงนำชาวลาวเหล่านี้มาด้วยและโปรดให้ไปตั้งมั่นอยู่ที่เมืองสุพรรณบุรีและเมืองนครชัยศรีจึงได้เรียกว่า ลาวภูครังหรือลาวครั่ง
          ( สุพิศ ศรีพันธุ์ : 2555 ) ในสมัยที่ลาวอพยพลงมาอยู่ที่เมืองด่านชั่วคราวตอนนั้น ลาวอดอยากมาก                ไม่มีเครื่องมือทำนาจึงได้เลี้ยงครั่งไว้สำหรับย้อมผ้าซึ่งเป็นสิ่งที่ถนัดและคุ้นเคย ดังนั้น คนไทยจึงเรียกลาวกลุ่มนี้ว่าลาวครั่งหรือลาวขี้ครั่ง (สุพิศ ศรีพันธุ์:2555 ) ซึ่งอาจจะเป็นที่มาของชื่อลาวครั่ง สีแดงที่ได้จากครั่งเป็นสีที่เป็นเอกลักษณ์ โดดเด่นและสดใสที่ใช้ในการย้อมผ้าเพื่อใช้ทอเป็นผ้าจกของชาวลาวครั่ง จังหวัดสุพรรณบุรี อำเภอที่มีชาวลาวครั่งอยู่ในเขตอำเภออู่ทอง อำเภอด่านช้าง และอำเภอเดิมบางนางบวช โดยเฉพาะอย่างยิ่งอำเภอเดิมบางนางบวช นั้นมีชาวลาวครั่งอาศัยอยู่เป็นจำนวน 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลป่าสะแก ตำบลบ่อกรุ และตำบลหนองกระทุ่ม ซึ่งจำนวนประชากรส่วนใหญ่เกือบ 80% เป็นชาวลาวครั่งที่มีภาษา วัฒนธรรม ประเพณีที่แตกต่างออกไป นอกจากนั้นยังมีผ้าทอที่สวยงามและประณีตที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์เป็นอย่างยิ่ง ชาวลาวครั่งในเขตอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี อาศัยอยู่ใน 3 ตำบลได้แก่ ตำบลป่าสะแก อาศัยอยู่ที่บ้านวัดขวาง บ้านทุ่งก้านเหลืองและบ้านใหม่ไร่อ้อย จะใช้นามสกุล “ภูฆัง” ส่วนลาวครั่งร้อยละ 80 ซึ่งอาศัยอยุ่ที่ตำบลหนองกระทุ่มและตำบลบ่อกรุ ส่วนใหญ่ใช้นามสกุล “กาฬภักดี”
          ( พยนต์ กาฬภักดี : 2552 ) เอกลักษณ์เฉพาะตัวของชาวลาวครั่งที่สามารถแบ่งแยกได้ทันทีที่พบ   คือ ภาษาพูด ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่มีเสียงวรรณยุกต์เป็นเสียงสูง ชาวลาวครั่ง มักเรียกตัวเองตามสำเนียงภาษาท้องถิ่นว่า “ลาวขี้คัง”หรือ“ลาวคัง”นอกจากนั้น ยังมีวัฒนธรรม ประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษยังคงอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ ได้แก่ ประเพณียกธง ที่ยังยึดถือและสืบต่อปฏิบัติกันมาโดยจัดขึ้นในเดือนเมษายนของทุกปี และประเพณีขึ้นศาลเจ้านาย ชาวลาวครั่งจะมีความผูกพันทางเครือญาติสูงมาก ซึ่งถือว่าเป็นเหตุผลที่มีการดำรงอยู่ของเผ่าพันธุ์ และการธำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์เฉพาะตัว สำหรับประเพณียกธงนั้น เป็นการแสดงออกถึงความสามัคคีและร่วมมือร่วมใจของประชาชนในท้องถิ่น

การแต่งกายของชาวลาวครั่ง
          ในชีวิตประจำวันจะแต่งกายตามปกติ ยกเว้นในการจัดงานประเพณีหรืองานที่มีการรวมกลุ่มที่เป็นงานซึ่งแสดงออกถึงการรวมกลุ่มกัน ซึ่งแสดงออกถึงความสามัคคีของหมู่คณะหรือการรับแขกคนสำคัญของท้องถิ่น ผู้ชายจะมีผ้าขาวม้าคาดเอวเป็นลายตารางหมากรุก 5 สี ส่วนผู้หญิงจะมีการแต่งกายด้วยผ้าทอมัดหมี่ ต่อผ้าซิ่นตีนจก ซึ่งประกอบไปด้วยส่วนตัวผ้าซิ่น นิยมทอด้วยผ้ามัดหมี่ทอแซมสลับกับการ “ทอแบบขิด”เป็นลายทางเล็กๆสีเหลืองหรือสีขาวคั่นระหว่างผ้ามัดหมี่เพื่อแบ่งช่องลวดลายผ้าสลับเน้นลวดลาย วัตถุดิบที่ใช้ ได้แก่ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม หรือใยสังเคราะห์ ส่วนสีแดงนั้นใช้เป็นลายซิ่นหรือเรียกกันว่าตีนซิ่น
ส่วนบนของฟอร์ม
ส่วนล่างของฟอร์ม

ลักษณะทั่วไปของลาวครั่ง
          คือ มีรูปร่างค่อนข้างไปทางสูงหรือสันทัด ทั้งหญิงและชายผิวค่อนข้องเหลือง ตาสองชั้น ใบหน้า ไม่เหลี่ยมมากจมูกมีสันผมเหยียดตรง ชอบนุ่งผ้าสิ้นคลุมเข่า นุ่งซิ่นหมี่มีดอก ลาวครั่งมีเอกลักษณ์
ทางวัฒนธรรมในการทอผ้าเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน และใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆโดยเฉพาะเทศกาลต่างๆ
          จากเอกสารของนักวิจัยที่ทำการค้นคว้าและศึกษาอาจจะสรุปความหมายของ ลาวครั่ง ได้ 2 ประเด็น คือ
          ประเด็นที่ 1 มาจากชื่อของภูเขา ในอาณาเขตของอาณาจักรหลวงพระบาง ที่มีรูปร่างเหมือนกับระฆัง   จึงทำให้เรียกชื่อตามนั้น คือ ลาวภูฆัง และ เรียกกันจนเพี้ยนกลายเป็น ลาวครั่ง
          ประเด็นที่ 2 สันนิษฐานว่าสาเหตุที่เรียกชื่อกลุ่มของตนเองมาตั้งแต่โบราณว่า ลาวครั่ง เป็นการเรียกตาม
ชื่อของครั่งที่นิยม นำมาใช้ย้อมสีผ้าให้เป็นสีแดง เพื่อใช้ในการทอเป็นเครื่องนุ่งห่ม
สำหรับคนไทยเชื้อสายลาวครั่งในจังหวัดสุพรรณบุรี ส่วนมากปัจจุบัน อาศัยอยู่ใน อำเภอเดิมบางนางบวช เช่น ตำบลบ่อกรุ ตำบลหนองกระทุ่ม ตำบลป่าสะแก ในอำเภอด่านช้าง เช่น ตำบลหนองมะค่าโมง ส่วนมากนับถือศาสนาพุทธ วัฒนธรรมของชาวลาวครั่งคนไทยเชื้อสายลาวครั่ง มีวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ได้แก่ ภาษา การแต่งกาย ประเพณี และพิธีกรรมความเชื่อ ต่างๆโดยได้ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน
          ภาษาที่ใช้ คือ ภาษาลาวครั่ง นักภาษาศาสตร์ได้จัดภาษาลาวครั่งอยู่ในตระกูลภาษาไท - กะได
          การแต่งกายของคนไทยเชื้อสายลาวครั่ง จะมีแบบฉบับเป็นของตนเองซึ่งนำวัสดุจากธรรมชาติ
ในท้องถิ่นคือ ฝ้าย และไหม ที่เป็นวัสดุในการทอ เทคนิคที่ใช้มีทั้งการจกและมัดหมี่ ผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ที่โดด
เด่นของชาวลาวครั่ง คือ ผ้าซิ่นมัดหมี่ ต่อตีนจก ซึ่งมีลายผ้าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น และ ผ้าขาวม้า 5 สี
มีลวดลายหลากหลายและสีที่ใช้เป็นสีที่ได้จากธรรมชาติ

ประเพณียกธงสงกรานต์
          เป็นประเพณีพื้นบ้านที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาช้านานในหมู่คนไทยเชื้อสายลาวครั่ง ชาวบ้านมักเรียกว่างานยกทุง น่าจะคล้ายกับที่ชาวเหนือเรียกว่าตุง เป็นประเพณีเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ ชาวบ้านได้ร่วมกันอนุรักษ์เอาไว้ โดยความร่วมมือกันของผู้คนในตำบลนั้นๆ ซึ่งจะประกอบด้วยหลายๆ หมู่บ้าน เมื่อการยกธงสงกรานต์มีขึ้นที่หมู่บ้านใด ก็หมายถึงวันสงกรานต์ที่หมู่บ้านนั้นได้สิ้นสุดลงแล้ว และชาวบ้านก็จะเริ่มทำไร่ทำนากันต่อไปตามแบบวิถีชาวบ้าน โดยการจัดงานนี้จะมีการนัดหมายกันว่าในแต่ละหมู่จะจัดขึ้นวันใดเพื่อไม่ให้ตรงกัน โดยชาวบ้านจะนำ คันธงหรือเสาธง และธงที่แต่ละหมู่บ้านเตรียมเอาไว้แห่มาที่วัด คันธงนั้นทำด้วยไม้ไผ่ทั้งลำซึ่งจะมีการประกวดประขันกันด้วย ซึ่งจะแบ่งออกเป็น การประกวดความยาวโดยวัดจากโคนถึงปลายยอด ซึ่งแต่ละหมู่บ้านจะปกปิดไม่ยอมให้ใครรู้ การประกวดความใหญ่โดยวัดโดยรอบของโคนเสา การประกวดความสวยงามของธงซึ่งชาวบ้านจะช่วยกันเย็บ การประกวดความสามัคคีของคนในชุมชนโดยการนับจำนวนของคนที่มาร่วมงานว่าหมู่บ้านใดสามารถดึงคนมาร่วมแห่ได้มากที่สุด สำหรับผู้หญิงนั้นจะนัดกันใส่ผ้าซิ่นตีนแดง ที่ทอเองด้วยมือของกลุ่มแม่บ้านมาร่วมงานกันเพื่อเป็นการอนุรักษ์งานหัตถกรรมพื้นบ้าน เมื่อขบวนแห่มาถึงวัดก็จะมีการละเล่นต่างๆที่จัดขึ้น เช่นการประกวดรำวงย้อนยุคของแต่ละหมู่บ้าน การละเล่นประเภทกีฬา เช่น ชักเย่อ ปิดตาชกมวย ปิดตาตีหม้อ ฯลฯ เสร็จแล้วก็เตรียมแห่ธงรอบวัดสามรอบก่อนจะนำไปปักลงหลุมที่เตรียมขุดเอาไว้ การแห่ธงของแต่ละหมู่บ้านนั้นก็จะมีเครื่องเป่าและรำวงกันอย่างสนุกสนาน ระหว่างวนรอบโบสถ์นี้ใช้เวลานานพอสมควร เนื่องจากบรรดาผู้แบกธง จะดึงคันธงชักเย่อกัน ท่ามกลางกองเชียร์อย่างสนุกสนาน ในตอนที่จะนำธงไปปักลงหลุมนั้นบางทีก็จะมีการแกล้งกันเพื่อไม่ให้อีกฝ่ายนำธงไปปักได้ง่ายๆ แกล้งกันพอหอมปากหอมคอ หลังปักธงได้แล้วชาวบ้านก็จะรำวงรอบเสาธงอีกสามรอบเพื่อเป็นการสักการะ จากนั้นก็จะมีการแห่ดอกไม้รอบหมู่บ้าน ปรกติการแห่ดอกไม้นี้ก็จะมีขึ้นทุกวันนับตั้งแต่วันที่ 13 เป็นต้นมา การแห่ดอกไม้ก็จะมีพระภิกษุสงฆ์และสามเณรเดินถือดอกไม้ไปด้วย โดยชาวบ้านจะเตรียมขันน้ำใส่ขมิ้นและน้ำหอมและดอกไม้คอยรับอยู่ตลอดทางที่พระจะผ่านมา พอพระผ่านมาถึงก็จะเอาดอกไม้จุ่มในขันน้ำของชาวบ้านและประพรมให้เพื่อเป็นศิริมงคล เสร็จแล้วชาวบ้านก็จะเดินตามพระไปด้วยพอผ่านบ้านถัดไปก็ร่วมกันเอาดอกไม้ประพรมให้ชาวบ้านที่รออยู่ต่อจากพระด้วย ซึ่งผู้คนก็จะมากขึ้นเรื่อยๆจนจบระยะทางกลับเข้าวัด จากนั้นชาวบ้านก็จะนำดอกไม้ไปถวายพระพุทธรูป เป็นอันเสร็จพิธี จึงนับเป็นงานบุญอย่างหนึ่งที่ประชาชนในหมู่บ้านมีความสามัคคีร่วมกันจัดขึ้นได้ทั้งบุญกุศลและความสนุกสนานโดยไม่สิ้นเปลืองมากนัก


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พยัญชนะ สระ มาตราตัวสะกด และวรรณยุกต์

ความหมายของเทคโนโลยี

เสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา