บทความ

ลาวครั่ง

รูปภาพ
ลาวครั่ง ประวัติความเป็นมาของคนไทยเชื้อสายลาวครั่ง            ประวัติความเป็นมาของลาวครั่งนั้น จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พบว่าบรรพบุรุษได้อพยพมาจาก อาณาจักรเวียงจันทร์ และหลวงพระบางพร้อมกับลาวกลุ่มอื่นๆ ได้อพยพเข้ามาที่ประเทศไทยด้วยเหตุผล ที่ทางการเมืองและเป็นเชลยศึกยามสงคราม อาศัยอยู่บริเวณภาคกลางของประเทศไทย           สิริวัฒน์ คำวันสา ( 2529 : 20) ได้กล่าวว่าลาวครั่งเป็นชื่อของภาษาและกลุ่มผู้มีเชื้อสาย ลาวกลุ่มหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย เช่น ในจังหวัดนครปฐม จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดชัยนาท จังหวัดอุทัยธานี ฯลฯ ลาวครั่งมักจะเรียกตนเองว่า "ลาวขี้ครั่ง" หรือ "ลาวคั่ง" ความหมายของคำว่า "ลาวครั่ง" ยังไม่ทราบความหมายที่แน่ชัดบางท่านสันนิฐานว่ามาจากคำว่า "ภูฆัง" ซึ่งเป็นชื่อของภูเขาที่มีลักษณะคล้ายระฆัง อยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของหลวงพระบางในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อันเป็นถิ่นฐานเดิมของลาวครั่ง           วัลลียา วัชราภรณ์ ( 2534 : 11-12) ได้สรุป จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เชื่อแน่ว่าชาวลาวครั่ง ถูกกวาด

พยัญชนะ สระ มาตราตัวสะกด และวรรณยุกต์

รูปภาพ
พยัญชนะ  สระ มาตราตัวสะกด  และวรรณยุกต์ ทีี่มา :  https://www.youtube.com/watch?v=yRCXfQykRjo พยัญชนะ                                                                                  พยัญชนะไทย ๔๔ ตัว                               ที่มา : https://pantip.com/topic/31764911     พยัญชนะ ในทางภาษาศาสตร์ หมายถึง เสียงแบบหนึ่งในภาษา ออกเสียงให้แตกต่างได้จากลักษณะของอวัยวะออกเสียงในช่องปาก และลักษณะอื่น ๆ เช่น การพ่นลม หรือเสียงก้อง ไม่ก้อง นอกจากนี้ยังหมายถึงตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะด้วย ขณะที่ผู้ใช้ภาษาทั่วไปมักจะเข้าใจว่า ' พยัญชนะ ' คือตัวอักษรแทนเสียงพยัญชนะเพียงอย่างเดียว           หน้าที่ของพยัญชนะ            ๑. เป็นพยัญชนะต้น คือ  พยัญชนะซึ่งอยู่ต้นพยางค์ พยัญชนะทุกตัวทำหน้าที่เป็นพยัญชนะต้นได้            ๒. เป็นตัวสะกด คือ พยัญชนะที่อยู่ท้ายพยางค์มี ๘ เสียง เรียกว่า “มาตราสะกด”            ๓. เป็นตัวการันต์ คือ พยัญชนะที่อยู่ท้ายแต่ไม่ออกเสียงส่วนมากมาจากภาษาอื่น            ๔. เป็นตัวอักษรควบ คือ พยัญชนะที่ออกเสียงกล้ำกับ ร ล ว             

เสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา

รูปภาพ
เสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา ผู้แต่ง             ไม่ปรากฏนามผู้แต่งตอนขุนช้างถวายฎีกาแต่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าแต่งดีเยี่ยม โดยเฉพาะ   กระบวนกลอนที่สื่ออารมณ์สะเทือนใจ (เป็น ๑ ใน ๘ ตอนที่ได้รับการยกย่อง)   ในตอนขุนแผน ขึ้นเรือนขุนช้าง และตอนขุนแผนพานางวันทองหนีเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย   ตอนขุนช้างขอนางพิมและขุนช้างตามนางวันทองเป็น พระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว   ตอนกำเนิดพลายงาม เป็นสำนวน ของสุนทรภู่   ที่มาของเรื่อง             ขุนช้างขุนแผนเป็นตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาในเมืองสุพรรณบุรี และกาญจนบุรี   โดยเชื่อกันว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงในแผ่นดินสมเด็จพระพันวษาแห่งกรุงศรีอยุธยาโดยในตำนานเล่าเพียงว่านายทหารยศขุนแผนผู้หนึ่งได้ถวายดาบฟ้าฟื้นแด่สมเด็จพระพันวษา ซึ่งใช้วิธีการถ่ายทอดโดยการ เล่าสืบสืบต่อกันมาเป็นนิทาน   จนกระทั่งมีผู้คิดวิธีการเล่าโดยการขับเป็นลำนำขึ้นมา จึงกลายเป็นใช้บทเสภา มีทั้งหมด ๔๓ ตอนด้วยกัน   ตอนที่นำมาเป็นบทเรียนนี้   คือ ตอนที่ ๓๕  เนื้อเรื่องกล่าวถึงพลายงาม   เมื่อชนะคดี